โครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

เปิดรับโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (รับพิจารณาเฉพาะผลงานทางด้านสังคมศาสตร์)

คณาจารย์และนักศึกษาท่านใดมีความประสงค์จะยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถตรวจสอบโครงการเบื้องต้น ได้จากเอกสารตรวจสอบโครงการที่ไม่เข้าข่าย/เข้าข่าย (ดาวน์โหลด) และขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ฯ โดยยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้

ภาษาไทย

  1. บันทึกภายใน ขอเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (สำหรับอาจารย์)
    บันทึกภายใน ขอเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (สำหรับนักศึกษา)
  2. เอกสารตรวจสอบโครงการไม่เข้าข่าย-เข้าข่าย
  3. IRB BU-Checklist (TH)
  4. แบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
  5. เอกสารคำชี้แจงโครงการวิจัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย
  6. หนังสือแสดงเจตนายินยอมการเข้าร่วมการวิจัย
  7. บันทึกภายใน ขอปรับเปลี่ยนโครงการวิจัยหลังได้รับการรับรองแล้ว
  8. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

English

ทั้งนี้ ท่านสามารถดูตัวอย่างการกรอกเอกสารหมายเลข 2-4

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ อ.เบ็ญจมาศ

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เบอร์ต่อภายใน 2819


1. รายชื่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

  1. ผศ.ดร.กาญจนา ส่งวัฒนา ประธาน
  2. รศ.ดร.พรรณี วิรุณานนท์ กรรมการ
  3. ผศ.เกรียงไกร รอบรู้ กรรมการ
  4. รศ.ดร.พัชราภรณ์ เกษะประกร กรรมการ
  5. รศ.ดร.รัตนสุดา ปุณณะหิตานนท์ กรรมการ
  6. อ.เอกภัทร ลักษณะคำ กรรมการ
  7. ดร.วิลาสินี ตู้จินดา กรรมการ
  8. อ.ปวีณา กุลประสูตร เลขานุการ
    (อ.เบ็ญจมาศ อธิปัญญากุล ผู้ประสานงาน)

2. หน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย

  1. พิจารณาให้การรับรอง หรือไม่รับรองโครงการวิจัย หรือให้มีการปรับปรุงแก้ไขก่อนให้การรับรองรวมทั้งให้พักการวิจัยชั่วคราว หรือยุติการรับรองโครงการวิจัยในกรณีที่งานวิจัยไม่เป็นไปตามแนวทางจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  2. ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการโครงการวิจัยจากรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยที่ผู้วิจัยเสนอ
  3. ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้วิจัยในการปรับปรุงโครงการวิจัยให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  4. กำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการพิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์
  5. เรื่องอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3. เงื่อนไขของโครงการที่จะยื่นเสนอเพื่อขอรับพิจารณารับรอง

  • เปิดรับพิจารณาเฉพาะโครงการที่ยังไม่ได้เริ่มเก็บข้อมูล เพื่อนำเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล
    (เช่น แบบสอบถาม/ข้อคำถาม/แบบสัมภาษณ์) และ กระบวนการที่จะใช้ดำเนินการเก็บข้อมูล
    มาพิจารณาว่าเข้าข่าย/สุ่มเสี่ยงจริยธรรมหรือไม่

4. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

  • ระยะเวลาโดยประมาณ 2-3 เดือน

5. ขั้นตอนการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

You may also like...