ระเบียบการขอทุน

การขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก ม.กรุงเทพ

คู่มือทุนอุดหนุนการวิจัย

* สำหรับผู้ที่ต้องการเสนอขอรับทุนสามารถดู >> คู่มือการเสนอขอรับทุน

* สำหรับผู้ที่ได้รับทุนสามารถดู >> คู่มือผู้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย

นโยบาย

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย กรุงเทพได้ทำการวิจัยใน ศาสตร์แขนงวิชาต่าง ๆเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือการให้บริการแก่สังคม
  2. เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิอันก่อให้ เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการวิจัย

1. รองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ ประธาน
2. รองอธิการบดีสายวิชาการ กรรมการ
3. รองอธิการบดีสายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา กรรมการ
4. รองอธิการบดีสายนานาชาติ กรรมการ
5. ผู้แทนผู้บริหารสายวิชาการระดับผู้ช่วยอธิการบดี กรรมการ
6. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เลขานุการ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับทุน

  1. ต้องเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อ หรือลาพักโดยไม่ได้รับเงินเดือน
  2. ต้องไม่อยู่ในระหว่างการทำวิจัยโดยได้รับทุนอุดหนุน การวิจัยของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ระยะเวลาในการทำวิจัย แบ่งได้ดังนี้

  1. ใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี
  2. ใช้เวลามากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี

จำนวนเงินทุนอุดหนุน แบ่งได้ดังนี้

  1. นักวิจัยใหม่
  2. นักวิจัยที่มีผลงานระดับชาติ
  3. นักวิจัยที่มีผลงานระดับนานาชาติ

เงื่อนไขในการให้ทุนอุดหนุนการวิจัย

  1. ผู้ขอทุนจะทำวิจัยเป็นส่วนบุคคลหรือคณะบุคคลก็ได้ ประเภทของการวิจัยต้องเป็นศาสตร์ในแขนงวิชา ต่าง ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นโครงการวิจัยที่ดี ผลของการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อ การเรียนการสอนและต่อสังคม เป็นโครงการวิจัยที่ยังไม่เคยได้รับเงินทุนส่งเสริมจากแหล่งอื่นมาก่อน หรืออาจได้รับเงินทุนจากแหล่งอื่น แต่ได้รับจำนวนเงินทุนไม่เพียงพอที่จะทำให้โครงการวิจัยนั้น เสร็จสมบูรณ์ได้ เป็นโครงการวิจัยที่ไม่ซ้ำกับงานวิจัยอื่น เป็นโครงการวิจัยที่มิได้ทำเป็นส่วนของ การศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ
  2. เป็นโครงการวิจัยที่คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย พิจารณาเห็นสมควรอนุมัติ ให้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย การจ่ายเงินทุนอุดหนุนการวิจัย

คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย จะพิจารณาจ่ายเงินให้แก่ผู้รับทุนดังนี้

  1. งวดแรก เมื่อได้ทำสัญญายืมเงินทุนอุดหนุนการวิจัยแล้ว ตามแบบสัญญายืมเงินทุนอุดหนุนการวิจัย งวดที่สองเมื่อได้รายงานผลความก้าวหน้าตามแบบรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยและ คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
  2. งวดสุดท้าย เมื่อได้ส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์จำนวน 4 ชุด และคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ของการวิจัยให้เป็นของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้วิจัยสามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยได้รับการอนุมัติจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ขั้นตอนการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุน การวิจัย

ขั้นตอนการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัย กรุงเทพ มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นเสนอโครงการวิจัย

  1. ผู้ขอรับทุนจัดทำโครงร่างการวิจัยที่จะเสนอขอรับทุนตามแบบฟอร์มข้อเสนอ โครงการวิจัยจำนวน2 ชุด และทำบันทึกภายในเสนอต่อผู้บังคับบัญชาผ่านตามสายงานดังนี้

หน.ศบว. ผ่าน ผอ.สว. /

คณ … /รอง ค… /หภ…

  1. ผู้ขอรับทุนส่งแบบความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม) และโครงร่างการวิจัย จำนวน 2 ชุด นำเสนอสำนักสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (สว.) ภายในกำหนดประมาณกลางเดือนเมษายน, กรกฎาคม และ ตุลาคม ของทุกปี

ตัวอย่างข้อเสนอโครงการวิจัย

1.) งานวิจัยของ รศ.ดร.สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ (pdf file)

2.) งานวิจัยของ ผศ.ดร.บุบผา เมฆศรีทองคำ (pdf file)

3.) งานวิจัยของ ผศ.อภิญญา อิงอาจ (pdf file)

  1. สำนักสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เสนอโครงร่างการวิจัยต่อคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการวิจัยเพื่อพิจารณา
  2. สำนักสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์แจ้งผลการพิจารณาโครงร่างการวิจัยให้ผู้ขอ รับทุนทราบ (กรณีที่มีการแก้ไขโครงร่างการวิจัยผู้ขอรับทุนต้องแก้ไขและส่งโครงร่างการวิจัยฉบับแก้ไขมายังสถาบันส่งเสริมการวิจัยฯ จำนวน 2 ชุด) และดำเนินการทำสัญญาการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย ต่อไป

ขั้นดำเนินการวิจัย

  1. ระหว่างการดำเนินการวิจัย ผู้รับทุนต้องรายงานผลความก้าวหน้าของการวิจัยทุก 6 เดือน โดยจัดทำรายงานตามแบบรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยเมื่อสิ้นสุดงวดของการวิจัยแต่ละงวดก่อนรับเงินงวดต่อไป (แบบรายงานความก้าวหน้า)
  2. ในกรณีที่ผู้รับทุนไม่สามารถทำการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้ในสัญญาและต้องการขยายเวลาการทำวิจัย ให้เสนอเรื่องขอขยายเวลาต่อคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยก่อนครบกำหนดไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยต้องส่งผลการดำเนินงานและชี้แจงเหตุผลประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ให้มีการขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6เดือนการขยายเวลาแต่ละครั้งให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการวิจัย

ขั้นรายงานผลการวิจัย

  1. ผู้รับทุนทำบันทึกผ่านผู้บังคับบัญชาตามสายงานถึง สวพ. เพื่อขอส่งรายงานการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วจำนวน 2 ชุด โดยไม่ต้องใส่ชื่อผู้วิจัยทั้งในหน้าปกและตัวรายงาน และแนบผลการตรวจสอบการคัดลอกผลงานด้วยโปรแกรม Turnitin (ทำบันทึกภายในเสนอต่อผู้บังคับบัญชาผ่านตามสายงานดังนี้

หน.ศบว. ผ่าน ผอ.สว. / คณ … /รอง ค… /หภ …

  1. คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับการวิจัยพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (Readers) เพื่อประเมินผลงานวิจัยจำนวน 2 ท่าน
  2. สำนักสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เสนอการประเมินผลของผู้ทรงคุณวุฒิ (Readers) ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยแล้วแจ้งผลให้ผู้รับทุนทราบ
  3. ผู้รับทุนส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ผ่านผู้บังคับบัญชาตามสายงานให้ สว. รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

4.1 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จำนวน 4 เล่ม (เย็บเล่มด้วยสันกาว) (มีรายละเอียด ใน pdf file)

4.2 บทคัดย่องานวิจัยฉบับภาษาไทยและอังกฤษอย่างละ 1 ชุด

4.3 แผ่นซีดีรายงานการวิจัย (PDF File) จำนวน 4 แผ่น

แนวทางการเสนอโครงการวิจัย

  1. บันทึกขอส่งโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนอุดหนุนการวิจัย
  2. แบบความเห็นผู้บังคับบัญชา
  3. ใบปะหน้าข้อเสนอโครงการวิจัย
รายละเอียด คำอธิบาย
1. ชื่อโครงการวิจัย
2. ที่ปรึกษาโครงการ/นักวิจัยพี่เลี้ยง
3. หัวหน้าโครงการ/หน่วยงานที่สังกัด
4. งบประมาณ/ระยะเวลาการทำวิจัย
5. สรุปโครงการ(โดยย่อ) (อธิบาย 7-10 บรรทัด)
6. ผลงานหลักที่คาดว่าจะได้รับ/สิ่งส่งมอบหลัก
7. กลุ่มเป้าหมายและการนำไปใช้ประโยชน์/การพัฒนาต่อยอด
8. แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย
  1. ข้อเสนอโครงการวิจัย (**ขอให้มีจำนวนไม่เกิน 25 หน้า**) ซึ่งประกอบด้วย
  2. ชื่อโครงการวิจัย (Research Title)
  3. ประเภทงานวิจัย (Type of Research)
  4. ที่ปรึกษาโครงการวิจัย/นักวิจัยพี่เลี้ยง (ถ้ามี)
  5. ผู้วิจัยหรือคณะผู้ดำเนินการวิจัย (โปรดระบุหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ร่วมวิจัย)
  6. แหล่งที่มาของข้อมูล (Source of Data)
  7. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย (Background and Signification of the Research Problem)
  8. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives of Research)
  9. ขอบเขตของการวิจัย (Scope of the Research)
  10. สมมติฐานของการวิจัย (Definition)
  11. นิยามศัพท์ (Definition)
  12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Benefits)
  13. การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
  14. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
  15. ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม (Ethical Consideration)

14.1 เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการเข้าโครงการวิจัย (Inclusion Criteria)

14.2 เกณฑ์การแยกผู้เข้าร่วมโครงการออกจากโครงการวิจัย (Exclusion Criteria)

14.3 เกณฑ์การให้ผู้เข้าร่วมโครงการเลิกการศึกษาวิจัย (Discontinuation Criteria)

14.4 สถานที่รวบรวมข้อมูล/สถานที่ทำการวิจัย

14.5 ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับผู้เข้าร่วมโครงการ

14.6 วิธีการป้องกันและแก้ไข กรณีเกิดปัญหากับผู้เข้าร่วมโครงการ

14.7 ค่าตอบแทน ชดเชยดูแลรักษาต่างๆ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. ระยะเวลาของการทำวิจัย (Duration)
  2. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ (Research Schedule)
  3. รายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่าย (Budget)
  4. บรรณานุกรม (Bibliography)

คลิกเพื่อดูรายละเอียดการนำเสนอโครงร่างการวิจัย

คลิกเพื่อดูตัวอย่างการเขียนข้อพิจารณาด้านจริยธรรม

คลิกเพื่อดูตัวอย่างเรื่องงบประมาณ

You may also like...